[dropcap style=” “]แ[/dropcap]ม้ว่าเราจะได้ยินคำว่าไอคิวมาเป็นเวลาร่วมศตวรรษแล้ว ก็มีอีกหลายๆ คิวที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เช่น อีคิว เอ็มคิว เอคิว และอีกหลายๆ คิว สารพัดคิวเหล่านี้มีที่มาอย่างไร และมีความหมายอย่างไรกันแน่

IQ (Intelligence Quotient) หรือ ไอคิวที่เราคุ้นกัน มีผู้ให้คำจำกัดความว่า คือตัวเลขทางสถิติที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องและการเปรียบเทียบของความสามารถ ที่จะได้รับความรู้หรือทักษะทางการศึกษา ซึ่งน่าจะแปลง่ายๆว่า ไอคิวคือตัวเลขที่บอกความฉลาดในการเรียนรู้ ผู้รู้บางกลุ่ม กล่าวว่า ไอคิวเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 19 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อเซอร์ฟรานซิส กาลตัน หลังจากความโด่งดังของ The Origin of Species สิ่งพิมพ์ของ ชราลส ดราวิน ดังขึ้นในปี คศ 1859 เซอร์ฟรานซิส กาลตัน ได้ศึกษาอย่างหนักเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของความสามารถของมนุษย์กับพันธุ กรรม
การสอบวัดไอคิวได้เริ่มมีขึ้นอย่างล้นหลาม เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาต้องแยกแยะทหารเกณฑ์ตามกลุ่มความฉลาดเพื่อประจำ ตำแหน่งต่างๆ ในการทำสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากนั้น บริษัท ห้างร้านก็เริ่มใช้การทำสอบนี้ เพื่อตัดสินการว่าจ้าง เลื่อนตำแหน่ง หรือย้ายตำแหน่ง จากนั้นก็มีการนำไปใช้ในระบบการศึกษา
เดิมมีการหาค่า IQ จากอายุของเด็กที่ควรทำข้อสอบ หารด้วยอายุของจริงของเด็กแลัวคูณด้วย 100 เช่น เด็กอายุ 8 ขวบ สามารถทำข้อสอบเท่ากับเด็กอายุ 12 ขวบ ค่า IQ คือ 12¸ 8 X 100 = 150 ซึ่งการคำนวณนื้ใช้กับผู้ใหญ่ไม่ได้ เพราะ หากผู้ใหญ่อายุ 20 แต่ ทำข้อสอบสำหรับคนอายุ 30 ได้ การคำนวณก็จะเป็น 30 ¸ 20 X 100 = 150 จะตีความว่า ผู้ใหญ่คนนี้มี IQ เท่ากับเด็ก 8 ขวบไม่ได้
การคำนวณค่า IQ ในปัจจุบันจึง ใช้วิธีเปรียบเทียบความสามารถกันในกลุ่มคนที่อายุเท่ากัน โดยมีการยึดค่า 100 เป็น มาตรฐาน ผู้ที่ได้คะแนนต่างกัน ก็จะแปรค่าดังนี้
Continue reading IQ, EQ, MQ, AQ และ สารพัด Q